25 มีนาคม 2555
วันนี้ในอดีต: พระราชดำรัส ๖๙
"..วินัยแท้จริงมีอยู่สองอย่าง อย่างหนึ่งคือวินัยตามที่ทราบกันและถือกัน อันได้แก่ข้อปฏิบัติที่บัญญัติไว้เป็นกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต่างๆ ให้ถือปฏิบัติ อีกอย่างหนึ่งคือวินัยในตนเอง ที่แต่ละคนจะต้องบัญญัติขึ้นสาหรับควบคุมบังคับให้มีความจริงใจ และให้ประพฤติปฏิบัติตามความจริงใจนั้นอย่างมั่นคง มีลักษณะเป็นสัจจาธิษฐาน หรือการตั้งสัตย์สัญญาให้แก่ตัว วินัยอย่างนี้จัดเป็นตัววินัยแท้ เพราะให้ผลจริงและแน่นอนยิ่งกว่าวินัยที่เป็นบทบัญญัติ ทั้งเป็นปัจจัยสาคัญที่จะเกื้อกูลให้การถือการใช้วินัยที่เป็นบทบัญญัตินั้น ได้ผลเที่ยงตรง ถูกต้อง สมบูรณ์ เต็มเปี่ยมตามเจตนารมณ์.."
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตรแก่ผู้สาเร็จการศึกษา
จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ
วันพุธ ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๒๔
ที่มา: ๒๐๙ คำสอนพ่อ เศรษฐกิจพอเพียง หน้า ๑๗๓
17 มีนาคม 2555
วันนี้ในอดีต: พระราชดำรัส ๖๘
คนโดยมากแม้ผู้ที่เคยฝึกฝนมาให้เป็นคนหนักแน่นแล้วก็ตาม บางครั้งเมื่อต้องประสบเหตุประสบปัญหากระทบกระเทือนอย่างหนักเข้า ก็อาจบังเกิดความหวั่นไหว หรือสับสนฟุ้งซ่านได้ และเมื่อเกินหวั่นไหวฟุ้งซ่าน ความคิดสติปัญญาก็จะสั้นตัว หรือดับวูบลง ความหลงและอคติก็เข้ามาแทนที่ ทำให้จนปัญญา คิดไม่ออก ทำไม่ถูก และที่สุดก็อาจผิดพลาดเสียหายได้ต่างๆ ท่านจึงสอนให้ทุกคนรู้จักสงบใจคือบังคับใจให้หยุดคิดเรื่องที่กำลังคิด และกำลังทำให้ฟุ้งซ่านหรือสับสนอยู่นั้นเสียชั่วขณะ เมื่อหยุดคิดสับสนได้ ก็จะอำนวยโอกาสอันประเสริฐให้สติความระลึกรู้และปัญญาความเฉลียวฉลาด กลับคืนมาใหม่ ช่วยให้ใจแจ่มใส หนักแน่น เข้มแข็งเข้า ความคิดเห็นก็เข้ารูปเข้ารอย คือมีความเที่ยงตรง เป็นกลาง สุขุม ปราศจากอคติ สามารถพิจารณาเห็นเหตุผลได้กระจ่างแจ่มชัด หาทางปฏิบัติได้ถูกต้องพอเหมาะพอดี ถึงขั้นนี้ ปัญหาทั้งปวงก็จะคลี่คลาย เรื่องที่จะเสียหายก็จะแก้ได้ตก กลับกลายเป็นดีโดยตลอด บัณฑิตจึงสมควรอย่างยิ่ง ที่จะสำเหนียกตระหนักในความรู้จักสงบใจ ยั้งคิดเสมอในกาลทุกเมื่อ
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
วันอังคารที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๔
ที่มา: http://www.lib.ru.ac.th/speech/2524MAR17.pdf
16 มีนาคม 2555
วันนี้ในอดีต: พระราชดำรัส ๖๗
"..จิตใจที่ต่ำทรามนั้นเป็นจิตใจที่อ่อนแอ ไม่กล้าและไม่อดทนที่จะเพียรพยายามสร้างสมความดีงาม ความเจริญ ความสำเร็จในทางที่ถูกต้องเป็นธรรม มีแต่คิดจะให้ได้มาโดยสะดวกง่ายดาย โดยไม่คำนึงถึงผิดชอบชั่วดี จิตใจดังนี้ ถ้าปล่อยให้เกิดมีขึ้นจนเคยชิน อย่างน้อยที่สุด ก็ทำให้เป็นคนมักง่ายทำงานบกพร่องเสียหายอย่างมาก ก็ทำให้เป็นคนด้านหนาไร้ความอาย หยาบคาย ละโมบ ทำอะไรที่ไหนก็เกิดอันตรายที่นั่น ท่านจึงสอนให้สังวรณ์ระวังใจของตนให้ดี อย่าให้ความชั่วเกิดขึ้นและหากเกิดขึ้นแล้ว ก็ให้กำจัดเสียทันที นอกจากนี้ก็ต้องฝึกหัดบำรุงใจให้เข้มแข็งและประณีตขึ้น เพื่อรับเอาความดีซึ่งเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้ก้าวถึงความสุขและความเจริญมั่นคง
การฝึกใจให้เข้มแข็งนี้ ถึงหากจะรู้สึกว่าเป็นการเหนื่อยยาก แต่ถ้าได้ตั้งใจฝึกฝนโดยสม่ำเสมอ ให้เพิ่มพูนขึ้นโดยลำดับ ไม่ช้านานก็จะเกิดกำลังแข็งแรง เกิดความชำนาญคล่องแคล่ว จนสามารถทำความดีได้ง่ายขึ้น ไม่เหนื่อยยากเลย.."
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
วันจันทร์ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๒๔
ที่มา: หนังสือ ๒๐๙ คำสอนพ่อ เศรษฐกิจพอเพียง หน้า ๑๗๕
14 มีนาคม 2555
วันนี้ในอดีต: พระราชดำรัส ๖๖
"..คนที่จริงใจต่อผู้อื่นนั้น ย่อมได้รับความนิยมเชื่อถือไว้วางใจ ร่วมมือสนับสนุนจากสาธุชนอยู่เสมอ จะทำการสิ่งใดก็สำเร็จและราบรื่น ท่านจึงสอนให้รักษาความจริงใจในกันและกันไว้ทุกเมื่อ นอกจากความจริงใจต่อผู้อื่นแล้ว ยังมีความจริงใจต่อตนเองอีกประการหนึ่ง ซึ่งจะต้องรักษาให้มั่นคง และให้ยิ่งขึ้นไป คือเมื่อได้ตั้งใจในความประพฤติปฏิบัติอันใด ตามที่ได้ไตร่ตรองเห็นว่าชอบว่าเป็นประโยชน์แท้แล้ว ก็ให้ติดตามรักษาความตั้งใจที่จะกระทำดั่งนั้นให้ตลอด ทั้งที่เป็นมาแล้ว ที่กำลังเป็นอยู่ และที่จะเป็นต่อไป ผู้ที่รักษาความจริงใจต่อตนเองได้มั่นคง จะไม่เป็นคนสับปรับ หากเป็นคนเที่ยงตรง หนักแน่น ทำอะไรตามกฎเกณฑ์ ตามระเบียบ และตามความถูกต้องเป็นธรรม สามารถสร้างสมความดีความเจริญให้เพิ่มทวีขึ้นได้ ไม่มีวันถอยหลัง.."
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
วันเสาร์ที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๒๔
ที่มา: http://www.sufficiencyeconomy.org/kamphorsorn/web/page172.html
7 มีนาคม 2555
วันนี้ในอดีต: พระราชดำรัส ๖๕
"..ถ้าถูกแดดถูกฝน อนามัยแข็งแรงก็ไม่เป็นอะไร ทำให้แข็งแกร่งจิตใจก็เหมือนกัน เมื่อประสบอุปสรรคและสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา เราก็ขุ่นหมอง แต่ถ้าจิตใจเราแข็งแรง แข็งแกร่งดี อุปสรรคนั้นจะทำให้สามารถที่จะทำให้มีอำนาจจิตดีขึ้น มีกำลังใจมากขึ้น สิ่งที่เป็นอุปสรรค สิ่งที่ทำให้เราขุ่นเคืองใจ ไม่เป็นผลร้ายต่อตัวเรากลับทำให้ใจเราแข็งแกร่ง แข็งแรง.."
เพลงพระราชนิพนธ์ ยิ้มสู้
เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๑๖ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๔๙๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย เพื่อเป็นการปลอบขวัญ และให้กำลังใจแก่คนตาบอด แล้วพระราชทานให้นำไปบรรเลง ในงานสมาคมช่วยคนตาบอด ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันเสาร์ที่ ๑ มีนาคม ๒๔๙๕
เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๑๖ ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. ๒๔๙๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย เพื่อเป็นการปลอบขวัญ และให้กำลังใจแก่คนตาบอด แล้วพระราชทานให้นำไปบรรเลง ในงานสมาคมช่วยคนตาบอด ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันเสาร์ที่ ๑ มีนาคม ๒๔๙๕
พระบรมราโชวาทในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และทรงดนตรีเป็นการส่วนพระองค์
ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วันเสาร์ ๗ มี.ค. ๒๕๑๓
ที่มา: หนังสือ ๒๐๙ คำสอนพ่อ เศรษฐกิจพอเพียง
และทรงดนตรีเป็นการส่วนพระองค์
ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วันเสาร์ ๗ มี.ค. ๒๕๑๓
ที่มา: หนังสือ ๒๐๙ คำสอนพ่อ เศรษฐกิจพอเพียง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)