"..อนาคตของชาติทุกชาติย่อมขึ้นอยู่แก่เด็ก เพราะเด็กก็คือผู้ใหญ่ในเวลาข้างหน้า ถ้าบุคคลได้รับการอบรมบ่มนิสัยให้เป็นพลเมืองดีอยู่ในศีลในธรรม เคารพต่อบทกฎหมายของบ้านเมืองเสียตั้งแต่ยังเยาว์ เมื่อเติบโตขึ้นพลเมืองของประเทศก็จะมีแต่คนดี และประเทศจะเจริญก้าวหน้าต่อไปได้ ก็โดยต้องมีพลเมืองดีดั่งว่านี้ ข้าพเจ้าจึงมีความพอใจที่รัฐบาลของข้าพเจ้า ได้มีความสนใจในปัญหาเกี่ยวกับการที่เด็ก และเยาวชนกระทำความผิด และพยายามคิดหาทางที่จะอบรมบุคคลเหล่านี้ให้กลับตนเป็นพลเมืองดี.."
พระราชดำรัสเนื่องในการเปิดศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางและสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง
วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๔๙๕
28 มกราคม 2555
25 มกราคม 2555
วันนี้ในอดีต: พระราชดำรัส ๖๒
ทหารเป็นหน่วยสำคัญสำหรับรักษาความสงบและอิสรภาพของประเทศ ทหารจึงต้องมีความเข้มแข็งและมีสมรรถภาพเป็นอย่างดี สมรรถภาพของทหารอยู่ที่วินัย ต้องเชื่อฟังคำสั่งโดยชอบของผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องปกครองทหารในทางที่ชอบที่ควร โดยระลึกถึงความเที่ยงธรรมและหน้าที่อันมีเกียรติของทหาร ทั้งนี้เพราะทหารได้รับเกียรติและเอกสิทธิ เป็นผู้กุมอาวุธและกำลังรบของประเทศ เป็นที่เคารพและเกรงขามในหมู่ชนทั่วไป
ทหารจึงต้องปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับที่ตนได้รับความไว้วางใจ ไม่ควรไปทำหรือเกี่ยวข้องในกิจการที่ไม่อยู่ในหน้าที่โดยเฉพาะของตน เช่น ไปเล่นการเมือง ดังนี้เป็นต้น การกระทำเช่นนั้น จะทำให้บุคคลเสื่อมความเชื่อถือในทหารโดยเข้าใจว่า เอาอิทธิพลไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว.."
พระบรมราโชวาท พระราชทานเนื่องในวันกองทัพบก
๒๕ มกราคม ๒๔๙๙
24 มกราคม 2555
วันนี้ในอดีต: พระราชดำรัส ๖๑
"..การที่บุคคลจะนำวิชาความรู้ความสามารถของตนมาปฏิบัติ ให้สำเร็จผลที่เป็นประโยชน์สร้างสรรค์อย่างแท้จริงได้ จำเป็นต้องอาศัยความเห็นความเข้าใจที่กระจ่างแจ่มแจ้ง อันเรียกว่า ปัญญา เป็นเครื่องชี้ชัดตัดสิน ปัญญาความเห็นความเข้าใจชัดนี้ จะเกิดได้ก็เฉพาะเมื่อมีการฝึกฝนที่ถูกและสมควร ซึ่งหมายถึงฝึกการกระทำความประพฤติทั้งปวงให้อยู่ในระเบียบที่สุจริตดีงาม ฝึกความคิดจิตใจให้หนักแน่น และมั่นคงในความเป็นกลาง จะพิจารณาวินิจฉัยเรื่องใดกรณีใด ก็อาศัยเหตุผลความถูกต้องเหมาะสมเป็นหลัก ให้จนประจักษ์ในความจริง ไม่ปล่อยทิ้งไว้เป็นปัญหา จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งสำหรับบัณฑิต ที่จะพยายามฝึกกายฝึกใจให้เที่ยงตรงดำรงอยู่ในระเบียบและระบบที่ถูกต้อง เพื่อสร้างเสริมปัญญาให้พัฒนาเพิ่มพูนยิ่งๆ ขึ้น ทุกคนก็จะสามารถใช้ความรู้ความคิดปฏิบัติงาน และนำพาตนให้ก้าวถึงความเจริญความสำเร็จอันสมบูรณ์ในชีวิตได้สมประสงค์.."
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๔ มกราคม ๒๕๓๔
14 มกราคม 2555
วันนี้ในอดีต: พระราชดำรัส ๖๐
"..ความรู้ประโยชน์แท้จริงของสิ่งทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องปลูกฝังให้หยั่งลึกในตัวเด็ก เด็กจักได้เติบโตเป็นคนฉลาดเที่ยงตรง และสามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ที่พึงประสงค์ให้แก่ตนแก่ส่วนรวมได้แน่นอนมีประสิทธิภาพ.."
พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก
วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๓๒
ความฉลาดเที่ยงตรง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความรู้คู่คุณธรรม เพราะถ้าเราปลูกฝังแต่ความฉลาดเพื่อความเป็นเลิศ นั่นหมายถึงทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความเป็นเลิศโดยไม่คำนึงถึงคุณธรรมและจริยธรรม ถ้าสังคมไทยมีแต่คนที่ฉลาดแกมโกง ขยันทำสิ่งชั่วร้ายเพื่อตัวเอง เพื่อความเป็นเลิศ คงจะมีแต่ความวุ่นวายและไม่มีความสงบสุขอย่างแน่นอน ผมได้รวบรวมคำขวัญวันเด็กแต่ละยุคสมัย ซึ่งจะสะท้อนปรัชญาการบริหารประเทศของผู้นำแต่ละคนในอดีตดังนี้
พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก
วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๓๒
ความฉลาดเที่ยงตรง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความรู้คู่คุณธรรม เพราะถ้าเราปลูกฝังแต่ความฉลาดเพื่อความเป็นเลิศ นั่นหมายถึงทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความเป็นเลิศโดยไม่คำนึงถึงคุณธรรมและจริยธรรม ถ้าสังคมไทยมีแต่คนที่ฉลาดแกมโกง ขยันทำสิ่งชั่วร้ายเพื่อตัวเอง เพื่อความเป็นเลิศ คงจะมีแต่ความวุ่นวายและไม่มีความสงบสุขอย่างแน่นอน ผมได้รวบรวมคำขวัญวันเด็กแต่ละยุคสมัย ซึ่งจะสะท้อนปรัชญาการบริหารประเทศของผู้นำแต่ละคนในอดีตดังนี้
รวมคำขวัญวันเด็ก
ปี | นายกรัฐมนตรี | คำขวัญ |
---|---|---|
พ.ศ. ๒๔๙๙ | จอมพล ป. พิบูลสงคราม | จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม |
พ.ศ. ๒๕๐๒ | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า |
พ.ศ. ๒๕๐๓ | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด |
พ.ศ. ๒๕๐๔ | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย |
พ.ศ. ๒๕๐๕ | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด |
พ.ศ. ๒๕๐๖ | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด |
พ.ศ. ๒๕๐๗ | จอมพล ถนอม กิตติขจร | ไม่มีคำขวัญ เนื่องจากงดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ |
พ.ศ. ๒๕๐๘ | จอมพล ถนอม กิตติขจร | เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี |
พ.ศ. ๒๕๐๙ | จอมพล ถนอม กิตติขจร | เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี |
พ.ศ. ๒๕๑๐ | จอมพล ถนอม กิตติขจร | อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย |
พ.ศ. ๒๕๑๑ | จอมพล ถนอม กิตติขจร | ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง |
พ.ศ. ๒๕๑๒ | จอมพล ถนอม กิตติขจร | รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ |
พ.ศ. ๒๕๑๓ | จอมพล ถนอม กิตติขจร | เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส |
พ.ศ. ๒๕๑๔ | จอมพล ถนอม กิตติขจร | ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ |
พ.ศ. ๒๕๑๕ | จอมพล ถนอม กิตติขจร | เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ |
พ.ศ. ๒๕๑๖ | จอมพล ถนอม กิตติขจร | เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ |
พ.ศ. ๒๕๑๗ | นายสัญญา ธรรมศักดิ์ | สามัคคีคือพลัง |
พ.ศ. ๒๕๑๘ | นายสัญญา ธรรมศักดิ์ | เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี |
พ.ศ. ๒๕๑๙ | หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช | เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้ |
พ.ศ. ๒๕๒๐ | นายธานินทร์ กรัยวิเชียร | รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย |
พ.ศ. ๒๕๒๑ | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ | เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง |
พ.ศ. ๒๕๒๒ | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ | เด็กไทยคือหัวใจของชาติ |
พ.ศ. ๒๕๒๓ | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ | อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย |
พ.ศ. ๒๕๒๔ | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม |
พ.ศ. ๒๕๒๕ | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย |
พ.ศ. ๒๕๒๖ | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม |
พ.ศ. ๒๕๒๗ | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา |
พ.ศ. ๒๕๒๘ | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม |
พ.ศ. ๒๕๒๙ | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม |
พ.ศ. ๒๕๓๐ | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม |
พ.ศ. ๒๕๓๑ | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม |
พ.ศ. ๒๕๓๒ | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ | รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม |
พ.ศ. ๒๕๓๓ | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ | รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม |
พ.ศ. ๒๕๓๔ | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ | รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา |
พ.ศ. ๒๕๓๕ | นายอานันท์ ปันยารชุน | สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม |
พ.ศ. ๒๕๓๖ | นายชวน หลีกภัย | ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม |
พ.ศ. ๒๕๓๗ | นายชวน หลีกภัย | ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม |
พ.ศ. ๒๕๓๘ | นายชวน หลีกภัย | สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม |
พ.ศ. ๒๕๓๙ | นายบรรหาร ศิลปอาชา | มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด |
พ.ศ. ๒๕๔๐ | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ | รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด |
พ.ศ. ๒๕๔๑ | นายชวน หลีกภัย | ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย |
พ.ศ. ๒๕๔๒ | นายชวน หลีกภัย | ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย |
พ.ศ. ๒๕๔๓ | นายชวน หลีกภัย | มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย |
พ.ศ. ๒๕๔๔ | นายชวน หลีกภัย | มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย |
พ.ศ. ๒๕๔๕ | พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร | เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส |
พ.ศ. ๒๕๔๖ | พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร | เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี |
พ.ศ. ๒๕๔๗ | พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร | รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน |
พ.ศ. ๒๕๔๘ | พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร | เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด |
พ.ศ. ๒๕๔๙ | พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร | อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด |
พ.ศ. ๒๕๕๐ | พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ | มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข |
พ.ศ. ๒๕๕๑ | พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ | สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม |
พ.ศ. ๒๕๕๒ | นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี |
พ.ศ. ๒๕๕๓ | นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม |
พ.ศ. ๒๕๕๔ | นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ |
พ.ศ. ๒๕๕๕ | น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร | สามัคคี มีความรู้คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี |
10 มกราคม 2555
วันนี้ในอดีต: พระราชดำรัส ๕๙
พระราชดำรัสที่พระราชทาน ในโอกาสที่ทรงเยี่ยมคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๗
7 มกราคม 2555
วันนี้ในอดีต: พระราชดำรัส ๕๘
"..กฎหมายนี้มีช่องโหว่เสมอ ถ้าเราถือโอกาสในการมีช่องโหว่ของกฎหมาย เพื่อการทุจริตนั้นเป็นสิ่งที่เลวทราม และทำให้นำไปสู่ความหายนะ แต่ถ้าใช้ช่องโหว่ในกฎหมายเพื่อสร้างสรรค์ ก็เป็นการป้องกันมิให้ใช้ช่องโหว่ของกฏหมายในทางทุจริต.."
พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาในการวางแผนการใช้ที่ดิน
โรงแรมรินคำ จังหวัดเชียงใหม่ ๗ มกราคม ๒๕๒๓
ปัญหาการครอบครองและกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นปัญหาสำคัญอีกด้านหนึ่งสำหรับเกษตรกร มีพื้นที่ ๖๖.๓ ล้านไร่ ซึ่งมีเกษตรกรทำกินอยู่โดยไม่มีเอกสารสิทธิ์ใดๆ เลย และมีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ครอบครัว หรือร้อยละ ๑๐.๗ ของครอบครัวเกษตรกรทั้งประเทศอยู่ในสภาพไร้ที่ทำกิน เมื่อรวมการเช่าที่ดินทั้งจากเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินไม่เพียงพอ และเกษตรกรที่ไร้ที่ทำกินแล้ว รวมพื้นที่เช่าทั้งหมดถึง ๑๔ ล้านไร่
แนวพระราชดำริเกี่ยวกับงานพัฒนาที่ดิน โดยการจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่ประชาชน เพื่อมิให้ประชาชนที่ไร้ที่ดินทำกินต้องไปทำงานเป็นทาสเขา ทรงเห็นว่ารัฐน่าจะดำเนินการตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่นั้นๆ เพื่อให้กรรมสิทธิ์แก่ราษฎรให้ทำกินได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่มิได้เป็นการออกโฉนดที่จะสามารถนำไปซื้อขายได้ เพียงแต่ควรให้ออกใบสัญญารับรองสิทธิทำกิน (สทก.) แบบมรดกตกทอดแก่ทายาทให้สามารถทำกินได้ตลอดไป และด้วยวิธีการนี้ก็ได้ช่วยให้ราษฎรมีกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตนเองและครอบครัว โดยไม่อาจนำที่ดินนั้นไปขายและไม่ไปบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนอื่นๆ อีกต่อไป
หลังจากนั้นทรงขยายขอบเขตงานด้านพัฒนาที่ดินตามสภาพภูมิประเทศต่างๆ เช่น การปรับปรุงดินเค็ม ดินเปรี้ยวหรือดินพลุ เป็นต้น รวมไปถึงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการดำรงอยู่อย่างพึ่งพาตัวเองต่อไป
ข้อมูลจาก http://www.panyathai.or.th
ส.ป.ก. 4-01 กับมุมมองของผู้เขียน
ส.ป.ก.คือ เอกสารสิทธิ์เพื่อให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมเท่านั้น แต่แล้วนักการเมืองชั่ว โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กลับนำมาแจกให้คนใกล้ชิดที่ไม่มีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรที่จังหวัดภูเก็ต หนำซ้ำในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลับพยายามจะผลักดันให้เป็นโฉนดที่ดินเพื่อขายให้กับนายทุนได้อีก นี่คือความอัปยศเลวทรามที่สุดของการพัฒนาที่ดินในบ้านเรา โดยนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)